HOME KNOWLEDGES / ความรู้เรื่องบ้าน


 

9 ขั้นตอนสู่การเป็น เจ้าของบ้าน 

“การซื้อบ้าน” เป็นเป้าหมายในฝันของชีวิตใครหลายๆคน เพราะบ้านเป็นปัจจัยที่จำเป็นในชีวิต ทำให้บ้านมีราคาที่สูงขึ้นตามความต้องการและอัตราเงินเฟ้อ การจะเก็บเงินเพื่อจะซื้อบ้านซักหลังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องผ่านหลายขั้นตอนทั้งการสำรวจราคา กู้ยืมธนาคาร ทำให้การซื้อบ้านเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับหลายคน แต่หากมีการเตรียมตัวที่ดี มีข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปตามขั้นตอน การซื้อบ้านก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป

9 ขั้นตอนต่อไปนี้ จะช่วยอธิบายวิธีการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อบ้าน และแนะนำเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างทาง


1. ตรวจสอบกำลังซื้อของตนเอง

ก้าวแรกของการเตรียมความพร้อมก่อนจะซื้อบ้าน นั่นก็คือต้องกำหนดราคาที่ไม่เกินกำลังซื้อของเรามากเกินไป แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรมองหาบ้านที่ราคาไม่เกิน 2-3 เท่าของรายได้ต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากเกินกำลังจนเกินไป นอกจากนี้เราต้องประเมินกำลังการผ่อนชำระค่างวดต่อเดือน  ซึ่งปกติแล้วธนาคารมักจะให้กู้ในวงเงินประมาณ 15-25% ของรายรับต่อเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่ผู้ซื้อบ้านควรมีเงินออมอย่างน้อยที่สุดประมาณ 10% ของราคาบ้าน หรือถ้าจะให้ดีควรมากกว่า 20% ขึ้นไป

2. เลือกธนาคารที่เหมาะสม

เมื่อทราบราคาบ้านและกำลังการผ่อนชำระรายเดือนคร่าวๆแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเลือกธนาคารเพื่อกู้ยืมเงิน ซึ่งแต่ละธนาคารมีอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร สิ่งสำคัญที่สุดในการพิจารณาเพื่อเลือกธนาคารคืออัตราดอกเบี้ยว่าเป็นในรูปแบบที่ต้องการหรือไม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่หรือเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ฯลฯ จากนั้นค่อยพิจารณาเทียบกันว่าธนาคารใดสูงหรือต่ำกว่า และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บ เช่น ค่าประเมิน,ค่าธรรมเนียมต่างๆ

3. จำลองการบริหารเงินก่อนซื้อบ้านจริง

หากการเขียนลงกระดาษว่าบ้านราคาเท่านี้ ผ่อนรายเดือนเท่านี้ยังไม่สามารถทำให้นึกภาพออกได้ ลองจำลองสถานการณ์จริงก่อนซื้อบ้าน โดยการรวมเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรายงวด, ค่าประกัน, ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าตกแต่ง โดยแยกออกมาจากกองเงินเดือนต่างหาก และนำ “ค่าเช่ารายเดือน” ที่ท่านจ่ายเพื่อเช่าบ้านหลังปัจจุบันหักออก ก็จะเหลือเงินที่ท่านจะต้องจ่ายเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ในทุกๆเดือน หากท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมานี้ ไม่ได้เป็นภาระหรือทำให้ต้องลดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากนัก นั่นก็แสดงว่าราคาบ้านที่กำลังมองหานั้น มีความเป็นไปได้สำหรับรายได้ของท่าน

4. Check list บ้านในฝัน

มีผู้โชคดีเพียงไม่กี่คนนัก ที่จะเจอบ้านที่เพียบพร้อมด้วยทุกอย่างภายใต้งบอันจำกัด ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มออกสำรวจบ้านในฝัน ท่านควรจดรายการต่างๆที่คิดว่าอะไรบ้างที่ “ต้องมี (Must haves) ในบ้าน และอะไรบ้างที่ “ไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็ดี (Nice to have)” ตัวอย่างสิ่งที่ “ต้องมี” ในบ้าน เช่น ระบบไฟฟ้า ประปาที่พร้อมใช้, จำนวนห้องนอนห้องน้ำที่ครบตามต้องการ การทำ Check list แบบนี้ก็เพื่อเตือนใจในสิ่งที่ “สำคัญ” จริงๆ ไม่ให้หลงไปกับสิ่งไม่จำเป็นที่อาจล่อให้ต้องจ่ายเงินเกินกว่าที่จำเป็น

5. ออกสำรวจหาบ้าน

ช่องทางการซื้อบ้านนั้น มีอยู่หลายวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากเป็นบ้านโครงการใหม่ก็ไม่ยุ่งยากนัก คือการติดต่อกับตัวแทนขายโครงการโดยตรง แต่หากเป็นการซื้อ “บ้านมือสอง” ก็จะมีอยู่ 4 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้ ซื้อกับเจ้าของโดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สามารถเจรจาต่อรองกันได้โดยตรง แต่การซื้อโดยวิธีนี้ต้องตรวจสอบเรื่อง “นิติกรรมสัญญา” ให้รอบคอบ ซื้อผ่านนายหน้า เป็นวิธีที่นิยมที่สุด เนื่องจากความสะดวกสบายในกระบวนการ มีแบบบ้านและราคาให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยมีค่านายหน้าประมาณ 3% ของราคาขาย ทรัพย์สินหลุดจำนอง วิธีนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้บ้านราคาถูกกว่าตลาด สามารถขอสินเชื่อได้ง่าย อีกทั้งดอกเบี้ยยังต่ำกว่าปกติ เนื่องจากทางธนาคารเจ้าของบ้านจะให้สินเชื่อเอง แต่บ้านส่วนมากที่หลุดจำนอง มักจะมีสภาพทรุดโทรม บางทีอาจจะมีลูกบ้านยังมีชื่อติดอยู่ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนซื้อ ประมูลจากกรมบังคับคดี บ้านที่มาจากการประมูลกรมบังคับคดีนั้นมีราคาถูกกว่าตลาดเกือบ 50% แต่ก็จะมีกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ซึ่งใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะได้บ้านมา

6. เทคนิคต่อรองราคา

เมื่อได้บ้านที่ถูกใจพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ต้องการ ก่อนตกลงอาจจะมีทริคเล็กน้อยในการต่อรองราคาบ้านให้ถูกลงมาอีก โดยขั้นแรก สำรวจบ้านในทำเลเดียวกันเพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบราคา ซึ่งหากบ้านที่สำรวจมีราคาถูกกว่าอาจจะนำมาใช้ต่อรองว่าราคาตลาดต่ำกว่าที่ขาย ต่อมาคือพิจารณาว่าผู้ขายรีบร้อนที่จะขายมากน้อยแค่ไหน หากผู้ขายร้อนเงินก็อาจจะสามารถต่อรองราคาได้อีก สุดท้ายคือสภาพแวดล้อมของบ้าน เพราะหากเป็นบ้านที่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่เป็นใจกลางเมืองหรือทำเลที่โดดเด่นมากนัก ก็อาจจะสามารถต่อรองราคาลงมาได้อีก

7. ตรวจสอบสัญญาและเอกสารการยื่นกู้

เมื่อตกลงในเรื่องราคาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนซื้อบ้านคือ การทำความเข้าใจ “สัญญาซื้อขาย” ให้ละเอียดและถูกต้องก่อนเซ็นสัญญา เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของตนเอง เพราะหากเซ็นสัญญาไปแล้ว และมาพบเจอปัญหาภายหลังไม่สามารถตามให้เจ้าของบ้านคนก่อนกลับมารับผิดชอบได้ สิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบก่อนซื้อขายคือ กรรมสิทธิ์ของบ้านและสภาพบ้าน หากพบว่าสภาพบ้านยังไม่เรียบร้อยก็สามารถให้เจ้าของบ้านแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมขาย

8. เซ็นเอกสาร

ก่อนวันเซ็นเอกสาร ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านพร้อมทั้งหมดแล้วสำหรับการซื้อบ้าน ทั้งเรื่องเงิน, เอกสาร และค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ผู้ซื้อตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนัดเจ้าของบ้านทำหนังสือสัญญาซื้อขาย หลังจากเซ็นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ผู้จะซื้ออาจทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน เพื่อขอตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดินอีกครั้ง

9. ตามหาประกันภัยให้บ้าน

เมื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารแล้ว โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะบังคับให้เราทำประกันบ้าน ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีประเภทการคุ้มครองและเบี้ยประกันที่แตกต่างกันออกไป โดยประกันขั้นพื้นฐานทั่วไปส่วนใหญ่คือ ไฟไหม้, โจรกรรม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ สำหรับความแตกต่างของแต่ละบริษัทต้องศึกษาในเรื่องของเงื่อนไขต่างๆ และเบี้ยประกันที่แตกต่างกันออกไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก terrabkk.com
«  กลับหน้าความรู้เรื่องบ้านทั้งหมด
 

 

 
       
  โปรเจค
• อำเภอหาดใหญ่
- โครงการคลองหวะ
- โครงการคลองแห
- โครงการลพบุรีราเมศวร์
• อำเภอเมืองสงขลา
- อาคารโรงแรม 7 ชั้น
- โครงการนวมินทร์
- โครงการร่มโพธิ์
- โครงการวิลล่า / Villa Project
- โครงการเนเจอร์ปาร์ค
• อำเภอนาทวี
- โครงการทรัพย์รุ่งโรจน์
 
 
  เบญจพร กรุ๊ป เกี่ยวกับเบญจพร กรุ๊ป  
- เบญจพร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- บริษัท บี. เจ. พรีคาสท์ จำกัด
- บริษัท เบญจพร คอนกรีต โปรดักส์ จำกัด
- ตลาดเบญจพร
- มูลนิธิเบญจพร
- เกี่ยวกับเบญจพร กรุ๊ป
- ข่าวสาร และกิจกรรม
- ความรู้เรื่องบ้าน
- ร่วมงานกับเรา
- ติดต่อเบญจพร
 
 
 
 

New User? Here | Forgot Password?Here

©COPYRIGHTS 2012 BENJABHORN GROUP
ALL RIGHTS RESERVED. WEBDESIGN BY ME-FI DOT COM